วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สรุปสารสำคัญ

สาระสำคัญเกี่ยวกับเทคโนโลยี+สารสนเทศ

มาเรียนรู้เทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศกันเถอะ^---^
ความหมายของเทคโนโลยี
        คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ซึ่งพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
        ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
        สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
        ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
        ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
จากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

 in
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมี 5 ประการ (Souter 1999: 409) ได้แก่
  • ประการแรก การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ สิ่งสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media, การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms), และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
  • ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่าโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์, อินเทอร์เน็ต, อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
  • ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง
  • ประการที่สี่ เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก เนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น
  • ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ ICT มีราคาถูกลงมา

รูปแบบการนำเสนอผลงาน

รูปแบบการนำเสนอผลงาน
Ÿ  การนำเสนอด้วยการบรรยาย นำเสนอเรื่องละ 12 นาที ซักถาม 3 นาที สื่อที่ใช้ในการนำเสนอให้จัดทำโดยใช้โปรแกรม  Microsoft Office PowerPoint  เวอร์ชัน 2007, 2003
            Ÿ  การนำเสนอด้วยโปสเตอร์ เพื่อความเป็นระเบียบและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ขอให้ผู้เสนอผลงาน จัดทำโปสเตอร์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
· ขนาดของบอร์ดกว้าง 1 เมตร สูง 1.5 เมตร
· การจัดทำโปสเตอร์ ต้องมีขนาด A0 เท่านั้น (88 เซนติเมตร x 120 เซนติเมตร) โดยมี
· หัวเรื่องงานวิจัย ขนาด Font 120 points
· ชื่อผู้ทำการวิจัย ขนาด Font 60 points
· เนื้อเรื่อง ขนาด Font 40 points 
· รูปภาพประกอบงานวิจัย ควรมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 Pixels  เพื่อคุณภาพในการจัดพิมพ์และติดบนวัสดุที่มีความแข็ง เช่น PVC หรือ Future Board
· เว้นระยะขอบโดยรอบ อย่างน้อย 7 เซนติเมตร 
ทั้งนี้ ผู้เสนอผลงานจะต้องเตรียมอุปกรณ์ กระดาษกาว 2 หน้า กรรไกร ฯลฯ  มาด้วย และอยู่ประจำบอร์ดตามเวลาที่กำหนด
 

เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงาน

วิธีนำเสนอผลงานด้วย Excel

ตั้งแต่โปรแกรม Office มีเครื่องไม้เครื่องมือช่วยเสริมสวยที่ดีขึ้นและใช้งานง่ายมากขึ้น จะเห็นว่าเราใช้เวลามากขึ้นในการสร้างงาน แม้จะสร้างสูตรสร้างตารางคำนวณเสร็จแล้ว ก็ยังต้องเสียเวลาอีกนานเพื่อประดิษฐ์ประดอยตกแต่งหน้าตาผลงานให้ดูดีอีกด้วย แถมยังกลายเป็นคุณสมบัติหนึ่งของพนักงานแต่ละคนไปแล้วว่า ต้องมีหัวศิลป์ ผู้ที่สามารถแต่งตารางให้ดูสวยหรู และสามารถนำเสนอผลงานทั้งบนกระดาษและหน้าจอได้ดีกว่า มักจะได้รับคำชมมากกว่าคนอื่น พอปลายปีก็จะได้รับประเมินผลขึ้นเงินเดือนเป็นพิเศษอีกด้วย
การนำเสนอผลงานที่ดี ต้องทำให้สวยอย่างมีคุณค่า ไม่ใช่่้สวยแต่รูป จูบไม่หอมอะไรทำนองนั้น เพราะยังมีสิ่งซึ่งสำคัญกว่าความสวยงามอีกมาก กล่าวคือ
  1. การนำเสนอผลงานต้องมีความยืดหยุ่น จะเรียกดูข้อมูลเรื่องใด ต้องสามารถดึงข้อมูลมานำเสนอได้ทันที ครั้นจะนำข้อมูลต่างช่วงเวลามาเปรียบเทียบ ต้องทำได้ง่ายเช่นกัน
  2. แบบตัวอักษร สีของตัวอักษร สีของพื้นเซลล์ และกรอบตาราง ต้องมีมาตรฐาน ไม่ใช้มากหรือน้อยเกินไป
  3. ใช้สัญลักษณ์ชี้ตำแหน่งเซลล์ซึ่งมีความสำคัญ และใช้สีหรือรูปแบบเน้นให้เห็นแตกต่างจากส่วนอื่น ช่วยชี้ประเด็นให้เห็นในทันที
  4. หากมีเงื่อนไขการคำนวณแตกต่างไปจากเดิม เราสามารถนำงานเก่าซึ่งสร้างไว้แล้วกลับมาใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องสร้างใหม่ หรือใช้เวลาแก้ไขเพียงเล็กน้อย
  5. พยายามใช้กราฟนำเสนอข้อมูลให้บ่อยครั้งที่สุด และผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนค่าซึ่งนำมาสร้างกราฟได้ทันที
  6. เมื่อสร้างงานเสร็จแล้วต้องปรับภาพซึ่งแสดงบนจอ ให้แสดงเฉพาะส่วนที่จำเป็นและง่ายต่อการใช้งานเท่านั้น
  7. ผลงานซึ่งพิมพ์ออกมาต้องจัดเรียงหน้า ดูสวยงาม และประหยัดกระดาษ ประหยัดหมึกพิมพ์

Format Style คือ อนาคต

คนที่เคยประสบปัญหาต้องกลับไปเปิดแฟ้มนับสิบนับร้อยแฟ้มกลับมาแก้ไข เพื่อจัดรูปแบบหน้าตาให้ใช้ตัวอักษรแบบเดียวกัน ขนาดตัวอักษรเท่ากัน ใช้สีเดียวกัน เพื่อปรับให้ทุกแฟ้มมีมาตรฐานเหมือนกันทั้งหมด จะหมดปัญหาทันทีเมื่อใช้คำสั่งFormat > Style
  • Style เป็นรูปแบบเฉพาะแต่ละแฟ้ม โดยแต่ละแฟ้มจะใช้ Style พื้นฐานขื่อ Normal เหมือนกัน แต่เราสามารถกำหนดให้ Normal มีรายละเอียดของรูปแบบแต่งต่างกันไป
  • Modify ใช้สำหรับปรับเปลี่ยนรูปแบบของ Style Name ซึ่งเลือกไว้ ปกติให้เลือก Normal แล้วกดปุ่ม Modify ได้เลย
  • Add/Delete ใช้สำหรับเก็บหรือลบบันทึก Style ชื่อใหม่ที่เราตั้งขึ้น
  • Merge ใช้สำหรับเรียกใช้ Style จากแฟ้มอื่นที่เปิดใช้งานอยู่ในขณะนั้น
ปัจจุบันนี้บนระบบอินเตอร์เน็ตเริ่มมีการกำหนดมาตรฐานของข้อมูลแต่ละหน้าให้ใช้รูปแบบเดียวกันมากขึ้น โดยใช้เครื่องมือชื่อว่า Cascading Style Sheet ซึ่งมีหลักทำงานคล้ายกับ Format Style ของ Excel นี่เอง หากสักวันหนึ่งคุณจะนำแฟ้มข้อมูลไปนำเสนอ หรืออวดให้สาธารณชนเห็น อย่าลืมใช้ Format Style กันไว้ก่อน หาทางทำให้การนำเสนอผลงานแต่ละตารางใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด

Management by Exception

Management by Exception เป็นระบบการบริหารซึ่งกำหนดให้ผู้ใต้บังคับบัญชารายงานเรื่องซึ่งผิดไปจากแผนงานที่วางไว้ หรือเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา ซึ่งต้องการให้พิจารณาตัดสินใจในทันที ช่วยประหยัดเวลาของผู้บริหารไม่ต้องค้นหาข้อมูลที่ผิดปกติเหล่านั้น แล้วลองหันกลับมาดูวิธีใช้ Excel กันบ้างว่า ในตาราง Sheet หนึ่งของ Excel มีเซลล์กว่า 16 ล้านเซลล์ ถ้าเรานำเสนอตารางใหญ่มากๆให้หัวหน้าดู หัวหน้าจะต้องเสียเวลาค้นหาข้อมูลที่ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษกันนานแค่ไหน
เครื่องมือของ Excel ซึ่งสนับสนุน Management by Exception มีดังนี้
  1. ใช้สูตรกลุ่ม Lookup เช่น Vlookup, Match, Index, Indirect, Offset ดึงข้อมูลซึ่งผิดปกติมาแสดง และใช้สูตร CountIf นับจำนวนเซลล์ที่ผิดปกติ
  2. ใช้คำสั่ง Format > Conditional Formatting เปลี่ยนสีเซลล์ซึ่งมีค่าต่างจากมาตรฐาน
  3. ดับเบิลคลิกเซลล์สูตรเพื่อย้ายตำแหน่งเซลล์ไปยังเซลล์ต้นทาง ทั้งนี้ต้องสั่ง Tools > Options > Edit > ตัดกาช่อง Edit directly in cell ออกก่อน หากต้องการย้อนกลับมาที่เซลล์เดิม หลังจากกดดับเบิลคลิกออกไปแล้ว ให้กดปุ่ม F5 แล้วกด Enter
  4. หากต้องการปรับค่าในตารางทั้งหมดพร้อมกัน ให้กลายเป็นค่าความแตกต่างจากค่ามาตรฐาน ให้ใช้ Copy ค่ามาตรฐานจากเซลล์ใดก็ได้ ไปเลือกพื้นที่ตารางซึ่งต้องการปรับค่า แล้วสั่ง Paste Special แบบ Subtract ทั้งนี้ให้ใช้วิธีนี้กับตารางที่มีแต่ค่าตัวเลขเท่านั้น ไม่ควรใช้วิธีนี้กับตารางซึ่งมีสูตร
  5. ใช้คำสั่ง Data > Filter > AutoFilter เพื่อกรองหาข้อมูลซึ่งตรงตามเงื่อนไขการกรอง
  6. ใช้คำสั่ง Data > Filter > Advanced Filter เพื่อดึงข้อมูลตามเงื่อนไข ออกไปสรุปในอีกตารางหนึ่ง
  7. ใช้คำสั่ง Data > Pivot Table and Pivot Chart Report สรุปตัวเลขที่ต้องสงสัย
  8. ใช้คำสั่ง Tools > Auditing หรือ Formula Auditing ลากเส้นเชื่อมโยงเซลล์ที่ไปที่มาของค่าผิดปกติ
  9. สร้างกราฟซึ่งมีเส้นกำกับระดับมาตรฐาน ใช้เป็นมาตรวัดว่าเส้นใดมีค่าสูงหรือต่ำกว่าเส้นมาตรฐาน

วิธีสร้างตารางเปรียบเทียบ หรืองบเปรียบเทียบ

วิถีการดำเนินธุรกิจย่อมอาศัยการเปรียบเทียบอยู่ตลอดเวลา ไหนเลยจะรู้ว่ากำไร ขาดทุน สูงกว่า ต่ำกว่า หากขาดการนำต้นทุนมาเทียบกับรายได้ หรือนำค่าใช้จ่ายแต่ละตัวมาเปรียบเทียบกัน หรือใช้ค่าใช้จ่ายตัวเดียวกัน แต่ต่างเวลานำมาเปรียบเทียบกัน
เครื่องมือของ Excel ซึ่งใช้สนับสนุนการเปรียบเทียบในลักษณะตาราง มีดังนี้
  1. ใช้คำสั่ง View > Custom View เพื่อเรียกดูตารางตามแบบที่ตั้งชื่อไว้


  2. ใช้คำสั่ง Data > Group and Outline จัดระดับการแสดงผลหรือซ่อน Row / Column แล้วเปิดใช้ตามระดับการซ่อน


  3. ใช้สูตร Lookup ดึงข้อมูลมาเปรียบเทียบ ตัวอย่างนี้ใช้สูตร Offset โดยผู้ใช้สามารถคลิกเลือกปีที่ 2 หรือปีใดก็ได้นำมาเปรียบเทียบกัน โดยคลิกเปลี่ยนปีในเซลล์ E5:F5


  4. ใช้สูตร Offset หายอดรวมตัวเลขจากระยะเวลาที่ต้องการ นำมาเปรียบเทียบกัน


  5. ใช้ Cell Picture Link โดยสั่ง Copy ตารางที่ต้องการ แล้วกด Shift พร้อมกับคลิกเมนูสั่ง Edit > Paste Picture Link จะเกิดรูปภาพของตารางพร้อมกับมีสูตร Link กลับไปยังตารางต้นทางให้ทันที หากต้องการสร้าง Cell Picture Link บนกราฟ ต้องใช้อีกวิธีหนึ่ง เริ่มจากกด Shift แล้วคลิกเลือกเมนู Edit > Copy Picture จากนั้นจึงนำไปสั่ง Paste ตามปกติลงในหน้ากราฟ แล้วให้สร้างสูตร Link จาก Cell Picture กลับมายังตารางต้นทางอีกขั้นหนึ่ง


วิธีปรับแต่งกราฟให้ได้ดังใจ

กราฟหรือ Chart ของ Excel มีความพิเศษสุดเหนือกว่ากราฟซึ่งสร้างขึ้นโดยใช้โปรแกรมอื่น ตรงที่กราฟของ Excel เกิดขึ้นจากการใช้สูตร Series จึงช่วยให้ผู้ที่ใช้สูตรเป็น สามารถแก้ไขที่ตัวสูตรเพื่อทำให้รูปกราฟปรับเปลี่ยนตามในทันที
=Series(ชื่อเส้น,ค่าแกนนอน,ค่าแกนตั้ง,เลขที่เส้น)
เราสามารถเลื่อนค่าซึ่งนำแสดงบนกราฟได้ 2 แบบ คือ
  1. แบบใช้ตาราง Template ดึงค่าช่วงที่ต้องการนำมาแสดงในตาราง Template นี้ จากนั้นจึงใช้ตารางนี้สร้างกราฟขึ้น เมื่อใดที่ค่าภายในตาราง Template เปลี่ยนแปลง จากการคำนวณใหม่หรือใช้ Input Form ส่งค่าใหม่ลงไปใน Template จะส่งผลให้รูปเส้นกราฟเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย


  2. แบบใช้ Dynamic Formula Name ใช้สูตร Offset เคลื่อนย้ายตำแหน่ง แล้วตั้งชื่อให้กับสูตรนี้ผ่านเมนู Insert > Name > Define จากนั้นจึงนำชื่อมาพิมพ์ทับตำแหน่งที่ใช้บนสูตร โดยให้พิมพ์ทับเฉพาะส่วนของตำแหน่งเซลล์อ้างอิง ไม่ต้องทับส่วนของชื่อ Sheet! และจะเห็นว่าสูตร Series ยอมรับชื่อนั้น พร้อมกับเปลี่ยนชื่อ Sheet เป็นชื่อ File ให้เห็นในสูตร Series

    • Formula Name ชื่อ XValue =OFFSET(Ref,From,0,Interval,1)
    • Formula Name ชื่อ YValue =OFFSET(Ref,From,1,Interval,1)
    • Ref เป็นตำแหน่งเซลล์อ้างอิง ให้นับ 0 จากตำแหน่งนี้
    • From คือ จำนวน Row ถัดไปจากตำแหน่ง Ref ถือเป็นตำแหน่งค่าเริ่มต้นของเส้นกราฟ
    • Interval คือ ความสูงหรือจำนวน Row ที่นำไปใช้บนกราฟ ช่วยให้เส้นกราฟยืดหรือหดตามต้องการ

เคล็ดการปรับแต่งกราฟ

  1. ปุ่ม Chart Wizard จะสร้างกราฟได้ง่ายขึ้น หากจัดเตรียมตารางข้อมูลซึ่งจะนำมาสร้างกราฟให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เช่น ถ้ากราฟที่ต้องการสร้างนั้นเป็นกราฟแบบ XY และมีเส้นกราฟ 3 เส้น ให้จัดเตรียมตารางไว้ก่อน ดังนี้
    • หัวตาราง Row บนสุดเป็นชื่อเส้น
    • Column ซ้ายสุด เป็นค่าบนแกน X
    • Column ถัดมาทางขวาอีก 3 Column เป็นค่าของเส้นที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ
  2. ถ้าต้องการเพิ่มเส้นบนกราฟทีหลัง ให้จัดเตรียมตารางเหมือนข้อแรก จากนั้นให้ Copy ตาราง แล้วนำมา Paste Special ลงบนกราฟแบบ New Series แต่ถ้ากราฟซ้อนอยู่หน้าเดียวกับตาราง จะเลือกใช้วิธีลากมาปล่อยลงในกราฟก็ได้


  3. แทบทุกจุดหรือ Object บนกราฟ สามารถสร้างสูตร Link นำค่าจากตารางส่งต่อมาแสดงได้ด้วย ขอให้คลิกซ้าย แล้วคลิกซ้ายซ้ำอีกทีที่จุดนั้น พอกลายเป็นกล่อง ให้คลิกต่อบน Formula Bar พิมพ์เครื่องหมาย = แล้วคลิกไปเลือกเซลล์ข้อมูลในตารางใดก็ได้ซึ่งต้องการส่งค่ามา


  4. หากต้องการสร้างกราฟ 2 รูปซ้อนกันในหน้าเดียว ให้สร้างกราฟ 2 รูป แยกเป็น Chart Sheet ต่างหาก จากนั้นคลิกขวาลงในกราฟ สั่ง Location > As object in แล้วเลือกชื่อ Chart Sheet


  5. หากต้องการกลับข้างของกราฟระหว่างแกนนอนและแกนตั้ง ให้คลิกเปลี่ยนตำแหน่งอ้างอิงแต่ละสูตรให้สลับกัน จากตำแหน่งค่า X ให้เป็น Y และจากเดิม Y ให้เป็น X ต่อเมื่อแก้ไขครบทุกเส้นแล้วจึงจะเห็นว่ากราฟปรับแกนให้ตามต้องการ
  6. ถ้าต้องการสร้างเส้นพยากรณ์หรือเส้นแนวโน้ม ให้คลิกขวาลงบนเส้นกราฟ แล้วสั่ง Add Trendline
  7. กราฟเส้นและกราฟแท่งแบบ 2 มิติ สามารถใช้วิธีคลิกซ้าย ตามด้วยคลิกซ้าย เพื่อกำหนดตำแหน่งจุดนั้นบนเส้นกราฟ หรือยอดของแท่งกราฟ จากนั้นจะเห็นว่ามีรูปเครื่องหมายชี้ขึ้นบนล่างปรากฏขึ้น ให้คลิกแล้วลากขึ้นลงตามต้องการ จะทำให้เส้นกราฟปรับตำแหน่งให้เองและส่งผลกลับไปปรับตัวเลขในตารางด้วย

การจัดเตรียมก่อนนำเสนอผลงาน

งานซึ่งสร้างเสร็จแล้ว ควรปรับแต่งให้สวยงาน พร้อมกับตัดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นออกให้ดูเหมือนกับกระดาษ มองดูผาดๆแล้วนึกไม่ถึงว่าเป็นตาราง Excel
  1. ตัด Gridlines ออก โดยสั่ง Tools > Options > View ตัดกาช่อง Gridlines
  2. ตัดชื่อหัวตารางและเลขกำกับ Row ออก โดยสั่ง Tools > Options > View ตัดกาช่อง Row and column headers
  3. ตัดแท่ง Scroll bar ออก โดยสั่ง Tools > Options > View ตัดกาช่อง Horizontal / Vertical Scroll bar
  4. ตัด Sheet tabs ออก โดยสั่ง Tools > Options > View ตัดกาช่อง Sheet tabs
  5. ปรับหน้าจอให้ขยายกว้างที่สุด โดยสั่ง View > Full Screen
  6. ตั้งชื่อพื้นที่ตารางซึ่งต้องการสั่งพิมพ์ แล้วนำชื่อมาใส่ลงในช่อง Print Area พิมพ์แต่ละชื่อคั่นด้วยเครื่องหมาย Comma , ซึ่งจะถูกพิมพ์เรียงลำดับทีละหน้าตามที่เรียงชื่อไว้


  7. ปรับสีที่ใช้พิมพ์ให้ใช้สีขาวและดำเท่านั้น โดยสั่ง File > Page Setup > Sheet > กาช่อง Black and white
  8. ลบชื่อ Range Name ซึ่งไม่ได้ใช้งานทิ้ง โดยสั่ง Delete ชื่อจากเมนูคำสั่ง Insert > Name > Define
  9. บันทึกรายละเอียดของแฟ้ม โดยสั่ง File > Properties หรือบันทึกคำอธิบายลงไปในเซลล์ โดยคลิกขวาลงไปในเซลล์ แล้วสั่ง Insert Comment หรือจัดทำคู่มืออธิบายการใช้งานประกอบแฟ้ม
  10. ใส่รหัสป้องกันการแก้ไข โดยสั่ง Tools > Protection > Protect Sheet / Workbook
  11. ใช้ Macro Recorder โดยสั่ง Tools > Macro > Record new macro ช่วยในการปรับการแสดงผลและช่วยนำเสนอผลงานอย่างอัตโนมัติ
  12. ควรจัดทำแฟ้มสำเนา Backup แยกเก็บไว้ต่างหาก

หลักการนำเสนอผลงาน

รูปแบบการนำเสนอโครงร่างผลงาน/ผลงานฉบับสมบูรณ์ 
กรณีการเข้ารับการประเมินผลงานเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการพิเศษ / นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ

ส่วนที่ 1.  ผลงาน

1.              ชื่อผลงาน...............................................................................................................
2.              ระยะเวลาที่ดำเนินการ  (ถ้ามี) 
       - หากไม่สามารถระบุได้ให้ตัดหัวข้อนี้ออกไป แล้วเรียงหัวข้อต่อไปเป็นข้อ 2.
3.              หลักการและเหตุผล  / ความเป็นมา
       - ให้สรุปถึงที่มาของผลงาน เหตุผลความจำเป็น/ความสำคัญของผลงานที่นำเสนอ
4.              แนวคิด ทฤษฏี  นโยบาย หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง 
      - ให้สรุปแนวคิด/ทฤษฏี หรือนโยบาย หรือระเบียบเฉพาะที่เกี่ยวข้องหรือที่ใช้ในการวิเคราะห์                              ทั้งนี้ ให้นำเสนอจำแนกแต่ละประเด็นโดยให้สรุปเฉพาะที่เกี่ยวข้องโดยตรง กับผลงานที่นำเสนอ
5.  ขั้นตอนการดำเนินการ
      - ให้นำเสนอขั้นตอนการดำเนินการของผลงานโดยระบุให้ชัดเจนว่าผู้ขอรับการประเมินได้ปฏิบัติงานอย่างไรบ้างในงานนั้นๆ  ซึ่งควรจำแนกเป็นข้อๆ และอาจนำเสนอให้เห็นถึงกระบวนงานที่ชัดเจนด้วยแผนภูมิประกอบ   และหากเป็นผลงานร่วมกับผู้อื่นที่เป็นผลงานในอดีตก็ต้องระบุด้วยว่าผู้ขอรับการประเมินได้มีหน้าที่ความรับผิดชอบในส่วนใดของผลงานดังกล่าว
6. บทวิเคราะห์
6.1   การวิเคราะห์ผลงาน  ให้วิเคราะห์ผลงานโดยนำแนวคิด / ทฤษฏี  ตาม 4. เป็นกรอบหรือเครื่องมือ                    ในการวิเคราะห์ผลงานตาม 5. รวมถึงวิเคราะห์องค์ประกอบ / ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของงาน  และอาจวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น (หรืออาจจะเกิดขึ้น กรณีเป็นผลงานที่สร้างขึ้นมาใหม่)
6.2   การวิเคราะห์ปัญหา ให้วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงาน (เรียงตามลำดับความสำคัญของปัญหา) ในกรณีนำเสนอผลสำเร็จของงานในอดีต อาจจำแนกประเภทของปัญหาออกเป็น ปัญหาเชิงนโยบาย และปัญหาในทางปฏิบัติ โดยนำเสนอเป็นข้อๆ หรือจำแนกปัญหาเป็นมิติ/ด้านต่างๆ เป็นต้น
6.3   การวิเคราะห์ข้อเสนอแนะ  ให้เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคตาม 6.2  ซึ่งจะต้องสอดคล้องกัน และมีความเป็นไปได้ หากเป็นผลงานที่สร้างขึ้นใหม่อาจวิเคราะห์ถึงแนวทางป้องกัน / แก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น       
7.  ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณ/คุณภาพ)
    - กรณีที่เป็นผลสำเร็จของงานในอดีต ให้ระบุผลสำเร็จของงานพอสังเขป
8.  การนำไปใช้ประโยชน์
     -ให้อธิบายถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากผลการปฏิบัติงานดังกล่าว หรือในกรณีเป็นผลงานที่สร้างขึ้นมาใหม่ให้ นำเสนอประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ


- 2 -

9. ผู้ร่วมดำเนินการ (ถ้ามี) 1...................................................สัดส่วนของผลงาน......................................
                                              2....................................................สัดส่วนของผลงาน.....................................

                           ขอรับรองว่าผลงานดังกล่าวข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ

                                                                                        (ลงชื่อ)...................................................
                                                                                                        (............................................)
                                                                                                                        ผู้เสนอผลงาน
                                                                                                               .........../........../........

                           ขอรับรองว่าสัดส่วนหรือลักษณะงานในการดำเนินการของผู้เสนอข้างต้นถูกต้องตรงกับ
ความเป็นจริงทุกประการ

(ลงชื่อ)...................................................          (ลงชื่อ)...................................................
       (............................................)                                 (............................................)
               ผู้ร่วมดำเนินการ                                                               ผู้ร่วมดำเนินการ
           ........../........../........                                                         .........../........../........

                           ได้ตรวจสอบแล้วขอรับรองว่าผลงานดังกล่าวข้างต้นถูกต้องตรงกับความเป็นจริงทุกประการ
                                                                                        (ลงชื่อ)...................................................
                                                                                                        (............................................)
                                                                                                 ผู้บังคับบัญชาที่ควบคุมดูแลการดำเนินการ
                                                                                                                  .........../........../........

หมายเหตุ          1.  - ในกรณีจัดทำโครงร่างผลงาน เนื้อหาให้มีความยาวไม่เกิน 3 หน้า (แบบอักษรAngsana ขนาด 16)
- ในกรณีจัดทำผลงานฉบับสมบูรณ์ เนื้อหาควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 15 หน้า (แบบอักษรAngsana    ขนาด 16)
2.         กรณีเป็นผลงานที่สร้างขึ้นมาใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน ให้ปรับหัวข้อการนำเสนอได้ตามความเหมาะสม
3.         ส่วนที่ต้องให้ความสำคัญมาก คือข้อ 5. และ ข้อ 6. โดยอาจมีภาคผนวกประกอบการนำเสนอผลงาน              พอสังเขป
4.         โครงร่างผลงานและผลงานฉบับสมบูรณ์ที่ผู้ขอรับการประเมินนำเสนอต้องมีชื่อเรื่องและเนื้อหาเดียวกัน



                                                                                                     - 3 -
                   
ส่วนที่ 2.  ข้อเสนอแนวคิด / วิธีการเพื่อพัฒนางานหรือปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ของ..........................................................
เพื่อประกอบการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง..................................................................................
กลุ่มงาน.........(กรณีผลงานฉบับสมบูรณ์)............สังกัด...........(กรณีผลงานฉบับสมบูรณ์)...................

เรื่อง..................................................................................................................................................

                           1. หลักการและเหตุผล / ความเป็นมา..................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
                           2. บทวิเคราะห์  แนวคิด / ข้อเสนอ (เพื่อความชัดเจนควรจำแนกเป็นข้อ ๆ)
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
                           3. ผลที่คาดว่าจะได้รับ /ประโยชน์ที่จะได้รับ ................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................
                           4. ตัวชี้วัดความสำเร็จ .....................................................................................................
.................................................................................................................................................................

                                                                                        (ลงชื่อ)...................................................
                                                                                                        (............................................)
                                                                                                                        ผู้เสนอแนวคิด
                                                                                                               .........../........../........

หมายเหตุ          1.  - ในกรณีจัดทำโครงร่างผลงาน เนื้อหาให้มีความยาวไม่เกิน 3 หน้า (แบบอักษรAngsana ขนาด 16)
- ในกรณีจัดทำผลงานฉบับสมบูรณ์เนื้อหาควรมีความยาวไม่น้อยกว่า 5 หน้า (แบบอักษรAngsana    ขนาด 16)
2.  ส่วนที่ต้องให้ความสำคัญของส่วนที่ 2  คือ  ข้อเสนอแนวคิด / วิธีการในการพัฒนางาน หรือปรับปรุงงาน
      โดยประสงค์ให้ผู้ขอรับการประเมินนำเสนอว่าจะทำอะไร  เพื่อให้งานนั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น




- 4 -

3.   การนำเสนอแนวคิดในการพัฒนางานควรจะต้องวิเคราะห์ให้เห็นถึงสภาพปัญหา หรือข้อบกพร่อง หรือจุดอ่อนของงานเดิมว่าเป็นอย่างไร  แล้วชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่นำเสนอให้ปรับปรุงใหม่ หรือจัดทำขึ้นใหม่นั้นดีขึ้นกว่าอย่างไรด้วย  ทั้งนี้  แนวคิด/ข้อเสนอดังกล่าวควรอยู่บนพื้นฐานความเป็นไปได้  และให้ระบุถึงวิธีการที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะได้รับการแต่งตั้ง  เพื่อให้สามารถนำไปพัฒนางานในตำแหน่งที่จะได้รับการแต่งตั้งได้
                    4.  ให้รวมผลงานในส่วนที่ 1 และข้อเสนอแนวคิดในส่วนที่ 2 ไว้ในเล่มเดียวกัน
                           - ในกรณีจัดทำโครงร่างผลงาน  ให้ส่งคณะกรรมการ จำนวน 4 ชุด
- ในกรณีจัดทำผลงานฉบับสมบูรณ์ ให้ส่งคณะกรรมการ จำนวน 6 ชุด (ฉบับตัวจริง 1 เล่ม+สำเนา 5  เล่ม)    
   และเพื่อความสะดวกในการอ่านของคณะกรรมการฯ ควรมีสารบัญด้วย
5.         ให้เข้าเล่มผลงานโดยวัสดุเข้าเล่มที่สามารถถอดออกได้ง่าย เช่นสันพลาสติก เพื่อความสะดวกหาก คณะกรรมการกำหนดให้แก้ไขรายละเอียดปลีกย่อยของผลงาน
                                                             
ผลงานที่จะนำมาประเมิน  จะต้องอยู่ในเงื่อนไข  ดังนี้
1.        เป็นผลงานที่จัดทำขึ้นในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าระดับที่จะประเมิน 1 ระดับ 
2.        ไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อขอรับปริญญา หรือ       ประกาศนียบัตร หรือเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรม
3.        กรณีที่เป็นผลงานร่วมกันของบุคคลหลายคน  จะต้องแสดงให้เห็นว่าผู้เสนอผลงานประเมิน        ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำ หรือผลิตผลงานในส่วนใด หรือเป็นสัดส่วนเท่าใด และมีคำรับรองจากผู้มีส่วนร่วมในผลงานนั้น  และจากผู้บังคับบัญชาด้วย
4.        ผลงานที่นำมาใช้ประเมินเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นแล้ว  จะนำมาเสนอให้ประเมินเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งในระดับที่สูงขึ้นอีกไม่ได้
5.        แนวคิดเพื่อการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ต้องเป็นแนวคิดที่จะพัฒนางานในตำแหน่งที่จะได้รับการแต่งตั้ง  และมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของระยะเวลาของการดำเนินงานไว้ด้วย














(ตัวอย่างปกโครงร่างผลงานฯ)

โครงร่างผลงาน


ของ  .............................................................

ตำแหน่ง.........................สังกัด.......................



เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการสัมภาษณ์                       โครงร่างผลงานตำแหน่ง(ระบุตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไป               ชำนาญการพิเศษหรือนักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ)


                     ผลงานส่วนที่ 1. เรื่อง…………………………………………………….
                            
                     ผลงานส่วนที่ 2. เรื่อง…………………………………………………….









(ตัวอย่างปกผลงาน)

เอกสารผลงาน


ของ  .............................................................

ตำแหน่ง.........................สังกัด.......................(ตำแหน่ง/สังกัดเดิมก่อนรักษาการฯ)



เพื่อขอรับการประเมินผลงานและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
(ระบุตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไปชำนาญการพิเศษหรือ                       นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ)
กลุ่มงาน......................
สำนักงานจังหวัด/กอง...................


                     ผลงานส่วนที่ 1. เรื่อง…………………………………………………….
                            
                     ผลงานส่วนที่ 2. เรื่อง…………………………………………………….